Lacticaseibacillus rhamnosus GG (ATCC 53103) ของ Lacticaseibacillus_rhamnosus

Lacticaseibacillus rhamnosus GG (ATCC 53103) เป็นสายพันธุ์ย่อยของ L. rhamnosus ที่แยกได้จากลำไส้ของมนุษย์ที่มีสุขภาพดีใน ค.ศ. 1983 และได้ยื่นขอสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1985 โดยเชอร์วูด กอร์บาค (Sherwood Gorbach) และแบร์รี โกลดิน (Barry Goldin)[11] ซึ่ง 'GG' มาจากอักษรตัวแรกของนามสกุลของพวกเขา[12] สิทธิบัตรอ้างถึงสายพันธุ์ของ L. acidophilus GG ที่มีหมายเลขทะเบียน American Type Culture Collection (ATCC) 53103 ภายหลังถูกจัดประเภทใหม่เป็นสายพันธุ์ L. rhamnosus สิทธิบัตรอ้างว่าสายพันธุ์ L. rhamnosus GG (ATCC 53103) มีความคงตัวในกรดและน้ำดี มีความเร็วในการเกิดปฏิกิริยา (avidity) อย่างมากในเซลล์เยื่อบุลำไส้ของมนุษย์ และผลิตกรดแล็กติก นับตั้งแต่มีการค้นพบสายพันธุ์นี้ ก็ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพที่หลากหลาย และปัจจุบันสายพันธุ์ L. rhamnosus GG (ATCC 53103) เป็นแบคทีเรียโปรไบโอติกส์ที่มีการศึกษามากที่สุดในโลก โดยมีงานวิจัยมากกว่า 800 รายการ[9]

ลำดับจีโนมของ Lactobacillus rhamnosus GG (ATCC 53103) ได้รับการถอดรหัสใน ค.ศ. 2009[13][14]

ประวัติ

ใน ค.ศ. 1983 L. rhamnosus GG ถูกแยกได้จากลำไส้ของมนุษย์ที่มีสุขภาพดีโดยเชอร์วูด กอร์บาค และแบร์รี โกลดิน

การวิจัยทางการแพทย์และการใช้งาน

จากที่ L. rhamnosus GG (ATCC 53103) สามารถอยู่รอดได้ในกรดของกระเพาะอาหารและน้ำดีในลำไส้[15] จึงถูกระบุว่ามีแหล่งอาศัยในระบบทางเดินอาหาร และสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ หลักฐานบ่งชี้ว่า L. rhamnosus เปรียบได้กับจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ในสกุลแลคโตบาซิลลัสเกือบทั้งหมดที่เป็นเพียงผู้อาศัยชั่วคราวและไม่ใช่จุลินทรีย์ท้องถิ่น (autochthonous)[16] Lactobacillus rhamnosus GG จะจับกับเยื่อบุลำไส้[17] ซึ่งคุณลักษณะนี้ทำให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่เอื้ออำนวยต่อการตรวจสอบการเสริมโปรไบโอติกส์เพื่อใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่ระบุถึงอาการป่วยที่ใช้สิ่งมีชีวิตโปรไบโอติกส์เป็นการรักษาทางเลือกแรกหรือทางเลือกที่สองที่เหมาะสม

Lactobacillus rhamnosus GG สามารถกระตุ้นการผลิตไซโตไคน์บางชนิด เช่น:[18]

อาการท้องร่วง

Lacticaseibacillus rhamnosus GG มีประโยชน์ในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรตาในเด็ก มีการแสดงให้เห็นถึงการป้องกันและรักษาโรคท้องร่วงประเภทต่าง ๆ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่[19][20] L. rhamnosus GG สามารถเป็นประโยชน์ในการป้องกันอาการท้องร่วงที่เกี่ยวข้องกับยาปฏิชีวนะและโรคท้องร่วงจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล และสิ่งนี้ได้รับการสนับสนุนในข้อแนะนำของยุโรป[21][22][23] Lactobacillus rhamnosus GG อาจลดความเสี่ยงของอาการท้องร่วงของนักเดินทาง[24]

กระเพาะและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน

เอกสารวิชาการหลักที่เผยแพร่โดยคณะทำงานด้านโปรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ของ European Society for Paediatric Gastroenterology Hepatology and Nutrition (ESPGHAN) ซึ่งมีการทบทวนอย่างเป็นระบบและทำการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCTs) (หลักฐานคุณภาพต่ำ, ต้องการคำแนะนำที่ชัดเจน) ระบุว่า L. rhamnosus GG อาจได้รับการพิจารณาใช้ในการรักษาเด็กที่เป็นโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบเฉียบพลัน นอกเหนือจากการบำบัดด้วยการให้สารน้ำ[25]

ผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้

Lacticaseibacillus rhamnosus GG พบว่าไม่ได้ผลในการรักษาอาการผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้[26] อย่างไรก็ตาม ในการสังเกตทางคลินิกแบบไม่สุ่มหนึ่งครั้ง[27] เกี่ยวกับผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กที่ดื้อยา มีรายงานถึงการปรับปรุงคุณภาพชีวิตอย่างมากในผู้ป่วยเด็กที่ได้รับ L. rhamnosus เสริม

ความเสี่ยง

การใช้ L. rhamnosus GG สำหรับการบำบัดด้วยโปรไบโอติกนั้นเชื่อมโยงกับกรณีของภาวะพิษเหตุติดเชื้อที่หายากในกลุ่มเสี่ยงบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องและทารก[28] การรับประทาน L. rhamnosus GG ถือว่ามีความปลอดภัย และข้อมูลแสดงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในการบริโภคในระดับประชากร ซึ่งไม่ได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของกรณีผู้ป่วยภาวะเลือดมีแบคทีเรียจากเชื้อแลคโตบาซิลลัส[29]